สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัยไทย ปรับปรุงแนวทางการรับประกันภัยรูปแบบใหม่ เพื่อสนับสนุนกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติสำหรับภาคครัวเรือน โดยขยายความคุ้มครองภัยธรรมชาติเพิ่มเติมจาก 6 ภัย เป็น 10 ภัย เพื่อให้ประชาชนและผู้เอาประกันภัยได้ในความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้นในอัตราเบี้ยประกันภัย ที่ลดต่ำลงและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนคาดโฉมใหม่ประกันภัยพิบัติ ดีเดย์ 1 ม.ค. 58 นี้
นายประเวช อาจสิทธิกุล เลขาธิการ คปภ. เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ ได้เห็นชอบให้มีการปรับปรุงแนวทางการรับประกันภัยของกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ (กองทุนฯ) ในกลุ่มบ้านอยู่อาศัยเพื่อให้ประชาชนได้รับความคุ้มครองภัยพิบัติได้อย่างครอบคลุม รวมถึงเพื่อให้มีความยืดหยุ่นสำหรับผู้เอาประกันภัยและบริษัทประกันภัยในการให้บริการประชาชนได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น สำนักงาน คปภ. จึงได้ร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัยไทยปรับปรุงแนวทางการรับประกันภัยรูปแบบใหม่ฯ คือ “กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย” เพิ่มความคุ้มครองจาก 6 ภัยหลัก ได้แก่ ภัยจากไฟไหม้ ภัยจากฟ้าผ่า ภัยจากระเบิด ภัยจากยานพาหนะ ภัยจาก อากาศยาน และภัยเนื่องจากน้ำ เพิ่มเติมความคุ้มครองภัยธรรมชาติ (ทุกกรณี) อีก 4 ภัย ได้แก่ ภัยจากลมพายุ ภัยจากน้ำท่วม ภัยจากแผ่นดินไหว และภัยจากลูกเห็บ รวมเป็น 10 ภัย ความคุ้มครอง 6 ภัยแรก คิดเบี้ยประกันภัยตามพิกัดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย ให้ความคุ้มครองในวงเงินที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัย และในส่วนของความคุ้มครองเพิ่มเติมภัยธรรมชาติ 4 ภัย คิดเบี้ยประกันภัย 100 บาท ซึ่งจะให้ความคุ้มครองในวงเงิน 20,000 บาท ต่อปี โดยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ทั้งนี้ บริษัทประกันภัยสามารถพิจารณารับความเสี่ยงภัยไว้เอง โดยไม่ต้องเอาประกันภัยต่อให้กับกองทุนฯ
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันภัยธรรมชาติเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหากประชาชนมีการทำประกันภัยไว้ก็จะช่วยบรรเทาความเสี่ยงภัยได้ สำหรับการปรับปรุงแนวทางการรับประกันภัยรูปแบบใหม่ในครั้งนี้ก็เพื่อรวมเอาภัยธรรมชาติทั่วไป และภัยธรรมชาติที่มีระดับความรุนแรงถึงขั้นภัยพิบัติเข้าด้วยกัน และเสนอให้ความคุ้มครองที่รวมกันเข้าไว้นี้ต่อภาคครัวเรือนที่ 20,000 บาท ด้วยเบี้ยประกันภัยเพียง 100 บาท ต่อปีสำหรับขั้นตอนต่อไปจะเป็นการขอรับความเห็นชอบหลักการแบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัย และออกคำสั่งนายทะเบียน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2558
วนความคืบหน้าการดำเนินงานของกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ สรุปยอดการจำหน่ายกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติล่าสุด ณ วันที่ 7 สิงหาคม2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,387,998 ฉบับ และทุนประกันภัยพิบัติที่ยังมีผลคุ้มครอง 67,045 ล้านบาท
ที่มา : http://www.oic.or.th/ พฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม 2557
CIO Roundtable ครั้งที่ 3/2567
07 November 2024 General