สมาคมประกันวินาศภัยไทย ร่วมสนับสนุนการนำเสนอผลงานวิจัยด้านวิทยาการประกันภัย ระดับปริญญาตรี ม.ธรรมศาสตร์ ปี 2563
02 December 2020 TGIA Center Activitiesสมาคมประกันวินาศภัยไทย ร่วมสนับสนุนเงินรางวัลในการนำเสนอผลงานวิจัยด้านวิทยาการประกันภัย โครงการปริญญาตรีภาคพิเศษ หลักสูตรวิทยาการประกันภัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และ ดร.ปิยวดี โขวิฑูรกิจ รองประธานคณะกรรมการพัฒนาธุรกิจและวิชาการประกันภัย สมาคมประกันวินาศภัยไทย ได้ร่วมบรรยายพิเศษรวมทั้งเป็นกรรมการตัดสินผลงาน “การนำเสนอผลงานวิจัยด้านวิทยาการประกันภัยระดับปริญญาตรีด้วยโปสเตอร์ ครั้งที่ 3 (The 3rd ASC Poster Symposium 2020)” ณ อาคารบรรยายรวม 3 ห้อง 227 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2563
การนำเสนอผลงานวิจัยดังกล่าวมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างโอกาสให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะการนำเสนอผลงานวิจัยต่อผู้ใช้ประโยชน์โดยตรงด้านวิทยาการประกันภัยจากหน่วยงานระดับชาติและองค์กรที่จัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อร่วมกันผลิตบัณฑิตหลักสูตรวิทยาการประกันภัย และเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างอาจารย์กับผู้เชี่ยวชาญจากธุรกิจประกันภัยระดับประเทศ โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ เป็นประธานเปิดงาน และมีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ธุรกิจประกันภัยยุคโควิด-19” โดย ดร.ปิยวดี โขวิฑูรกิจ รองประธานคณะกรรมการพัฒนาธุรกิจและวิชาการประกันภัย สมาคมประกันวินาศภัยไทย จากนั้นเป็นการให้คะแนนการนำเสนอผลงานวิจัยด้านวิทยาการประกันภัยด้วยโปสเตอร์ จำนวน 15 ผลงาน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากวงการประกันภัย การเงิน การลงทุน 19 ท่านจาก 12 หน่วยงาน ร่วมเป็นกรรมการตัดสิน ซึ่งผลการตัดสินเป็นดังนี้
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงานวิจัยเรื่อง “ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์การเปลี่ยนกลับตราสารหนี้เป็นเงินสดแบบฉับพลันตลอดเวลา (Mathematical Models of Sudden Exchange Bond to Cash at Any Time )” ของ น.ส.ปาณิสรา บรรดาศักดิ์ น.ส.กันติชา สุทธินนท์ และ นายกรรมณัย โพธิ์ทอง โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาคือ รศ.ดร.วิชัย วิทยาเกียรติเลิศ
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ผลงานวิจัยเรื่อง “การประกันภัยทางทะเลและขนส่งและตัวแบบสำหรับทำนายการกระทำอันเป็นโจรสลัดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างปี พ.ศ. 2543-2562 (Marine Insurance and Models for Predicting Acts of Piracy in Southeast Asia during 2000-2019)” ของ น.ส.ปวีณา ประทุมชัย น.ส.พรรษมน รอดผดุง และ น.ส.ณัฐริณีย์ วรสุทธิ์ โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาคือ ผศ.ดร.แสงดาว วงค์สาย
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ผลงานวิจัยเรื่อง “การจัดการลงทุนในหุ้นสามัญ กลุ่มธุรกิจประกันภัยจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้วยดัชนีเชิงเดี่ยว (Investment Portfolio Using Single Index Model: The Insurance Stock in Stock Exchange of Thailand (SET))” ของ น.ส.พัชริดา จงหาญ น.ส.วิฐิตา วันทะสิงห์ และ น.ส.นิศารัตน์ คำวันดี โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาคือ ผศ.สุรเมศวร์ ฮาชิม
รางวัลชมเชย ได้แก่ ผลงานวิจัยเรื่อง “การพยากรณ์ค่าสินไหมทดแทนของการประกันภัยรถยนต์ในประเทศไทยโดยใช้ตัวแบบผสม Pegels–ARIMA และตัวแบบ SARX (Forecasting Claims of Motor Insurance in Thailand Using Pegels–ARIMA Hybrid and SARX Models)” ของ น.ส.ชยุดา อู่ศรีวงศ์ น.ส.พิชญ์สินี วัฒนธรรม และ น.ส.อภิสรา บุญวิเศษ โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาคือ ผศ.นิฉา แก้วหาวงษ์
นอกจากนี้ยังมีรางวัลพิเศษ “ขวัญใจหน่วยงาน ถูกใจ ใช่เลย” ดังต่อไปนี้
ผลงานวิจัยเรื่อง “ปัจจัยที่มีผลต่อการพิจารณาประกันสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต (Factors Affecting the Underwriting on Health Insurance of Diabetic Patient with Diabetic Nephropathy)” ของ น.ส.ปกิตตา ปัญญา น.ส.ดุจเดือน แก้วคง และ น.ส.พรชิตา วายะลุน โดยมี อาจารย์ที่ปรึกษาคือ ผศ.รวมพร สิทธิมงคล
ผลงานวิจัยเรื่อง “การพยากรณ์เบี้ยประกันภัยรับโดยตรงของการรับประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ (Forecasting Direct Premium for Thailand’s Voluntary Motor Insurance)” ของ น.ส.กุลสตรี เพิ่งรัตน์ น.ส.วิมลสิริ ทางธนกุล และ นายธีระเดช จิตรสุภาพ โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาคือ อ.ดร.ภทรวรรณ แสงนวกิจ
ผลงานวิจัยเรื่อง “การเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของหลักทรัพย์กลุ่มธุรกิจประกันภัยโดยใช้แบบจำลองการตั้งราคาสินทรัพย์ประเภททุนและการกำหนดราคาหลักทรัพย์ 3 ปัจจัย (The Comparison Rate of Return and Risk of Insurance Securities by Capital Asset Pricing Model and Fama–French Three–Factors Model)” ของ น.ส.วรรณิสา ยงรักษา และ น.ส.ธนัชชา โชคดำรงสุข โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาคือ อ.ดร.ชัยณรงค์ เกศามูล
ผลงานวิจัยเรื่อง “การประกันภัยทางทะเลและขนส่งและตัวแบบสำหรับทำนายการกระทำอันเป็นโจรสลัดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างปี พ.ศ. 2543-2562 (Marine Insurance and Models for Predicting Acts of Piracy in Southeast Asia during 2000-2019)” ของ น.ส.ปวีณา ประทุมชัย น.ส.พรรษมน รอดผดุง และ น.ส.ณัฐริณีย์ วรสุทธิ์ โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาคือ ผศ.ดร.แสงดาว วงค์สาย
ผลการแข่งขันฟุตซอลประกันภัย ครั้งที่ 6
06 October 2015 TGIA Center ActivitiesWorking Together ก้าวสู่ยุทธศาสตร์ใหม่ TGIA
14 September 2015 TGIA Center Activities